รายงานการศึกษา “แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังหลบหนีของกรมราชทัณฑ์”

กรมราชทัณฑ์ โดยกองการเจ้าหน้าที่ ได้ดำเนินการศึกษา “แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังหลบหนีของกรมราชทัณฑ์”   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมราชทัณฑ์ด้านการควบคุมผู้ต้องขัง และเพื่อค้นหาแนวทางหรือมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมราชทัณฑ์ในการป้องกันการหลบหนีของผู้ต้องขัง ผู้ที่สนใจศึกษา สามารถ Download ได้ตามข้างล่างนี้

  1. เฉพาะสรุปบทคัดย่อ แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังหลบหนี pdf
  2. รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังหลบหนี

มอบหมายหน้าที่และมอบอำนาจการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์

คำสั่งกรมราชทัณฑ์ ที่ 1678/2561 ลงวันที่ 20 กันยายน 2561 และ

คำสั่งกรมราชทัณฑ์ ที่ 1749/2561 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2561

การตัดโอนภารกิจศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือกรมราชทัณฑ์ ปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานสำนักพัฒนาพฤตินิสัย เป็นการภายใน และปรับปรุงการกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบกองบริการทางการแพทย์ เป็นการภายใน

Download หนังสือกรมราชทัณฑ์ ที่ ยธ 0702.1/17171 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2560 แจ้งคำสั่งกรมราชทัณฑ์ ดังนี้

  1. คำสั่งกรมราชทัณฑ์ ที่ 824/2560 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2560 เรื่อง ตัดโอนภารกิจศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือกรมราชทัณฑ์
  2. คำสั่งกรมราชทัณฑ์ ที่ 825/2560 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2560 เรื่อง ปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานสำนักพัฒนาพฤตินิสัย เป็นการภายใน
  3. คำสั่งกรมราชทัณฑ์ ที่ 826/2560 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2560 เรื่อง ปรับปรุงการกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบกองบริการทางการแพทย์ เป็นการภายใน

การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Link หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 16 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2558

กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เรือนจำกลางปัตตานี  เรือนจำกลางยะลา เรือนจำจังหวัดนราธิวาส เรือนจำจังหวัดสตูล  เรือนจำอำเภอเบตง และเรือนจำอำเภอนาทวี  จังหวัดสงขลา

  • วิธีการดำเนินงาน

1. สำรวจข้อมูลข้าราชการที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด

2. รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ และตรวจสอบตำแหน่งว่าง หากไม่มีตำแหน่งว่างต้องดำเนินการเสนอ อรท. พิจารณาเพื่อขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง กรณีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงานในกรมราชทัณฑ์ไปที่ อ.ก.พ.กระทรวงยุติธรรม พิจารณา

3. หาก อ.ก.พ.กระทรวงยุติธรรม มีมติให้ความเห็นชอบการขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง กรณีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงานในกรมราชทัณฑ์  กรมฯ จะดำเนินการคัดเลือกข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการแจ้งให้ข้าราชการซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วน    ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด  ศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนด พร้อมทั้งจัดทำเอกสารข้อเสนอแนวคิด วิธีการพัฒนา/การแก้ปัญหางานที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนด

4. กรมฯ แจ้งผลการคัดเลือก และมีคำสั่งแต่งตั้ง ซึ่งเมื่อข้าราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแล้วผู้นั้นจะต้องอยู่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่อไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษ

  • ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559

กรมราชทัณฑ์ ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป  ระดับปฏิบัติงาน และระดับชำนาญงาน  ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 58 ราย ดังนี้

– ตำแหน่งนักทัณฑวิทยาชำนาญการ      จำนวน 47 ราย

– ตำแหน่งนักทัณฑวิทยาชำนาญการ (ด้านอนุศาสนาจารย์)    จำนวน   1 ราย

– ตำแหน่งนักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ   จำนวน 10 ราย

  • การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560

– กรมราชทัณฑ์ มีหนังสือถึงจังหวัดนราธิวาส สตูล ยะลา และสงขลา ตลอดจน เรือนจำกลางปัตตานี  เรือนจำกลางยะลา เรือนจำจังหวัดนราธิวาส เรือนจำจังหวัดสตูล  เรือนจำอำเภอเบตง และเรือนจำอำเภอนาทวี  จังหวัดสงขลา ให้ส่งแบบสำรวจข้อมูล และหลักฐานประกอบที่เกี่ยวข้อง ไปกรมฯ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2560

– กลุ่มงานอัตรากำลังและพัฒนาระบบ ได้ดำเนินการประสานฝ่ายสรรหาและประเมินบุคคล กองบริหารทรัพยากรบุคคล ให้ดำเนินการในส่วนที่กี่ยวข้องต่อไปแล้ว ภายในปีงบประมาณ 2561

การปรับปรุงแนวทางการดำเนินการพัฒนาและการประเมินผลการพัฒนาข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ

Link หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013.5/ว 4 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2560 เรื่อง การปรับปรุงแนวทางการดำเนินการพัฒนาและการประเมินผลการพัฒนาข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ